ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ทำให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจาก
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๖ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษทรงได้ศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชา ประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา
พระวรราชเทวี ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา
ด้านการศึกษา
ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
ด้านการเศรษฐกิจ
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น
ด้านการคมนาคม
ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร
ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน ละคร จึงได้ทรงตั้ง กรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวง ไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมไทย
ด้านการต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย – ฮังการี บัลกาเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และ วชิรพยาบาล และได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย
ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรง ส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์ และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และ นักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระ นามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อ พระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์ โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ“บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์
5).ความ สั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
2.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
3.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
5.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
6.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
7.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
8.สื่อ ถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของ วัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
เนื้อเรื่อง
ฉบับที่ 1
นาย ประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน เป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนาย ประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิด เมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ ที่ท่าเรืออยู่แล้ว
ฉบับที่ 4
จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้ง ปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ย ก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
ฉบับที่ 5
จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรม-พานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
ฉบับที่ 6
จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว ทุก วัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่ นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
ฉบับที่ 9
จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
ฉบับที่ 11
ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ
ฉบับที่ 12
แม่ อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ เรื่อง จะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีก เป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพระยา ตระเวนนคร แล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
ฉบับที่ 13
ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน
พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง
ฉบับที่ 15
ประพันธ์ คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้
ฉบับที่ 17
ประพันธ์ ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่า ให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ
ฉบับที่ 18
แม่ อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก
ข้อคิดที่ได้รับ
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่าย ดาย
4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม
คำศัพท์น่าสนใจ
กรมท่าซ้าย หมายถึง ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง
ขุดอู่ หมายถึง ปลูกเรือนตามใจผู้นอน
ครึ หมายถึง เก่า ล้าสมัย
คลุมถุงชน หมายถึง การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดหาให้
โช หมายถึง อวดให้ดู
เทวดาถอดรูป หมายถึง มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบชะเล่อร์ หมายถึง ชายโสด
ปอปูลาร์ หมายถึง ได้รับความนิยม
พิสดาร หมายถึง ละเอียดลออ กว้างขวาง
พื้นเสีย หมายถึง โกรธ
ไพร่ หมายถึง ชาวบ้าน
ฟรี หมายถึง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคลุม
เร็สตอรังต์ หมายถึง ภัตตาคาร ร้านอาหาร
เรี่ยม หมายถึง สะอาดหมดจด
ลอยนวล หมายถึง ตามสบาย
เล็กเช่อร์ หมายถึง บรรยาย
ศิวิไลซ์ หมายถึง เจริญ มีอารยธรรม
สิ้นพูด หมายถึง หมดคำพูดที่จะกล่าว
หดหู่ หมายถึง หอเหี่ยวไม่ชื่นบาน
หมอบราบ หมายถึง ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า หมายถึง คาดว่า
หัวนอก หมายถึง คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง หมายถึง ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง หมายถึง ค่อนข้าง
อินเตอเร้สต์ หมายถึง ความสนใจ
เอดูเคชั่น หมายถึง การศึกษา
ฮันนี่มูน หมายถึง การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่
หลวง หมายถึง บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนและต่ำกว่าพระ
วิเคราะห์วิจารณ์
พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ ดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป จนละเลยความเป็นไทย ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่น ยิ่งขึ้น ดังนั้นแกนของเรื่อง คือ การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับ วัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้น
บทวิเคราะห์ ตัว ละคร ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้ ทำให้เรารู้จักตัวละครได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 1)ประพันธ์ คือ ตัวแทนของหนุ่มไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศแล้วประทับใจ คลั่งไคล้วัฒนธรรมของประเทศนั้น ถึงกับกล่าวว่า “เขากำลังเดินห่างออกมาจากถิ่นที่เคยได้รับความสุข(ประเทศอังกฤษ)แลดูไปข้างหน้าก็หวังได้แต่จะได้เห็นความคับแคบและอึดอัดใจ” (ความคิดของประพันธ์ที่มีต่อเมืองไทย)อีกทั้งยังเปรียบ “รักเมืองไทยเหมือนรักพ่อแม่รักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย” ความ คิดของประพันธ์ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อประพันธ์เปรียบว่า เมื่อเคยจากพ่อแม่ไปเห็นสิ่งสวยๆงามๆได้พบกับคนอื่นๆนอกบ้านก็เป็นธรรมดาที่ ต้องรู้สึกว่าบ้านพ่อแม่คับแคบอึดอัดคุยกับพ่อแม่ก็ไม่สนุกเท่ากับคุยหนุ่มๆ สาวๆและเมื่ออ่านจดหมายฉบับต่อๆไปก็จะเห็นความรู้สึกขัดแย้งของประพันธ์ที่ มีต่อสังคมไทยมากขึ้นเขาไม่พอใจประเพณีไม่พอใจสภาพแวดล้อมไม่พอใจเรื่อง ฐานันดรศักดิ์ซึ่งประพันธ์เห็นว่าทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องแสดงความล้าหลัง เมื่อมาพบอุไรสาวไทยผู้ทันสมัยมีแนวคิดและมีค่านิยมแบบตะวันตกเต็มที่ ประพันธ์จึงดูจะมีความสุขขึ้นและทั้งสองได้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจน อุไรตั้งครรภ์จึงต้องแต่งงานกันโดยเร็ว เวลาผ่านไปประพันธ์ก็ประจักษ์แก่ใจว่าเขากับอุไรไม่เหมาะสมกันทั้งคู่จึง ต้องหย่ากันและทำให้ประพันธ์คิดได้ว่าผู้หญิงที่เหมาะกับเขานั้นไม่ใช่ ผู้หญิงเชยคร่ำครึอย่างแม่กิมเน้ยหรือทันสมัยอย่างอุไรแต่ควรเป็นผู้หญิงที่ มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นตะวันตกนั่นก็คือศรีมาน 2)อุไร เป็นสาวทันสมัยใจตะวันตกอาจกล่าวได้ว่าอุไรเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันตก ด้วยความเป็นสาวทันสมัยมีพฤติกรรมแบบสาวตะวันตกไม่ห่วงเนื้อห่วงตัวเต้นรำ เป็นชอบเที่ยวกลางคืนมีผู้ชายมารุมล้อมมากมายจนกลายเป็นสาว “ปอปูลาร์” ทำ ให้ประพันธ์ชื่นชมและถูกใจมากจึงได้คบหาสมาคมสนิทสนมจนกระทั่งได้แต่งงานกัน หลังจากแต่งงานพฤติกรรมของอุไรก็มิได้เปลี่ยนแปลงอุไรไม่ได้ทำหน้าที่แม่ บ้านชอบข่มขู่สามีดูถูกคนอื่นชอบเที่ยวแม้กระทั่งหลังจากแท้งลูกอุไรก็ยิ่ง เที่ยวหนักขึ้นกว่าเดิมและหนักขึ้นเรื่อยๆจนถึงกับไปค้างแรมบ้านชายอื่นทำ ให้ประพันธ์ต้องขอหย่าอุไรจึงไปอยู่กับพระยาตระเวนนครซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ชายชู้ต่อมาก็หวนกลับมาหาประพันธ์อีกเพราะถูกพระยาตระเวนนครทิ้งแต่ประพันธ์ ปฏิเสธ อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อและแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิชพ่อค้าผู้มั่งคั่งดัง นั้นชีวิตของอุไรแสดงให้เห็นว่าการไม่รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว เลือกนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทยๆนั้นเป็นอย่างไร ฉาก ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพื่อได้รับอิทธิพลของ วัฒนธรรมตะวันตกใหม่ๆสภาพบ้านเมืองเริ่มมีความเจริญแบบตะวันตกคือมีถนน หนทางมีการใช้หนังสือพิมพ์ในการสื่อสารผู้อ่านจึงได้เห็นการใช้ภาษาไทยที่มี คำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษมาปะปนอยู่ กลวิธีการแต่ง หัวใจชายหนุ่มเป็น นวนิยายขนาดสั้น นำเสนอในรูปแบบของจดหมายนับเป็นประเภทวรรณกรรมแบบตะวันตกเข้ามาในวงวรรณกรรม ไทยเนื้อหาในจดหมายเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของนักเรียนนอกในยุคที่สังคม ไทยกำลังปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของ วัฒนธรรมตะวันตก
1.ก่อนอ่านจดหมายฉบับแรกทรงเขียนว่า รามจิตรติ หรือข้าพเจ้าว่าเป็นผู้รวบรวมจดหมายเหล่านี้
2.ตัวละครทุกตัวเป็นประเภทหลายมิติ
3.การ ใช้สำนวนภาษาสอดคล้องกับลักษณะของตัวละครมีการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษรวมทั้ง คำสแลงมากมายเหมาะกับประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว 4.เนื้อหาในจดหมายแสดงมุมมองของประพันธ์ที่แสดงอย่างตรงไปตรงมาเหมือนจดหมาย ส่วนตัวทั่วๆไป ..."
ความรู้เพิ่มเติม
1. ได้สำนวนในเรื่องหัวใจชายหนุ่มดังต่อไปนี้
- เดินเข้าท้ายครัว หมอบราบคาบแก้ว คลุมถุงชน ลงรอยเป็นถ้าประนม
- ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง ค้อนเสียสามสี้วง
- โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้ ชิงสุกก่อนห่าม
- เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์
- ขนมปังครึ่งก้อนดีกว่าไม่มีเลย
- เทวดาถอดรูป
2. แสดง ให้เห็นเกี่ยววัฒนธรรมการแต่งกายของผู้หญิงที่เปลี่ยนไปในสมัยรัชกาลที่6 เช่น การที่ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน เริ่มหันมานุ่งผ้าซิ่น ซึ่งนับว่าเป็นแฟชั่นหรือวัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยที่หันมานิยมวัฒนธรรม แบบตะวันตก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก และเริ่มจากสังคมคนชั้นสูง